การเสียชีวิตขณะออกกำลัง ควรต้องแยกออกเป็น

1. ในคนที่มีไม่ใช่นักกีฬา อาจมีปัญหาสุขภาพหรือไม่มี แล้วเสียชีวิตขณะออกกำลัง

2. กับคนที่เป็นนักกีฬา ออกกำลังสม่ำเสมอ แล้วเสียชีวิต

ในกรณีเเรก การออกกำลังไม่สม่ำเสมอหรือไม่เคยออก แล้วมาออก แล้วเสียชีวิต อายุมากหรือน้อย มาออกหนักๆ ภาวะหัวใจ หายใจมันรับไม่ไหว อาจมีหลายปัจจัยซึ่งทางคุณหมอ Kijakarnได้เขียนบอกว่ามันมีแฟคเตอร์อื่นๆ ต้องว่ากันยาวๆ แต่ในกรณีที่สอง นักกีฬา ออกกำลังสม่ำเสมอถึงไม่ใช่แข่ง แต่แข็งแรง เเต่ถ้าเกิดมีข่าวเสียชีวิตขณะแข่ง หรือขณะออกกำลัง …ทุกคนตะลึง…

ซึ่งคุณหมอได้กล่าวในกรณีที่ข้อนี้ไว้ว่า การเสียชีวิตกระทันหันในนักกีฬา ในอเมริกา มีข่าวดังๆเรื่อยๆ และมีการทำสถิติว่าประมาณเล็กน้อยคือ 1 ใน 200000 คนต่อปี

คุณหมอได้เเยกเป็น 2 กรณีในข้อ 2 นี้ คือ เกิดจากโรคเกี่ยวเนื่องกับหัวใจ และส่วนน้อยมากๆ เกิดจากสาเหตุอื่นๆ (ไม่ถึง 2%)

สาเหตุ มีผู้วิจัยเกี่ยวกับสาเหตุว่า ส่วนใหญ่ ในอายุ <35-40 ปี จะเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

กล้ามเนื้อหัวใจหนา (HCM) 26%

การกระแทกหน้าอกโดยตรงทำให้หัวใจหยุดเต้น(เช่นโดนกระแทกโดยลูกฮ๊อกกี้) 20%

เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจออกมาผิดตำแหน่ง ทำให้เสี่ยงต่อการขาดเลือด 14%

อื่นๆเช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากเชื้อไวรัส(อันนี้เคยเจอเอง) ลื้นหัวใจตีบ ผิดรูป ลิ่มเลือดอุดตัน หัวใจล้มเหลวจากDCM(dilated cardiomyopathy) heat stroke และอีก 2.5% เกิดจากเส้นเลือดหัวใจโคโรนารี่ตีบ

มี 2% ที่ตรวจหัวใจหลังตายแล้วปกติหมดเลย ไม่พบอะไร พวกนี้จะเป็นพวกที่เกิดจากมีการเต้นหัวใจผิดจังหวะ หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ion channel disease , prolong QT ที่น่าสนใจคือ ในนักจักรยานชาวเบลเยี่ยม เคยมีการศึกษาวิจัยว่า ความตื่นเต้นในการแข่ง หลั่งสารพวกอดรีนาลีนมากเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซี้แหง (cathecolamine polymorphic tachycardia) และอื่นๆ เช่นพวกที่ติดยา เกิดเส้นเลือดหัวใจสปาสซั่ม โรคเกี่ยวกับการขัดข้องกระแสไฟฟ้าหัวใจ

แต่ถ้าอายุมากกว่า 35 หรือ 40 ปี (หรือวัยกลางคน) สาเหตุจากเส้นเลือดหัวใจโคโรนารี่ตีบมากขึ้นมาก…คุณหมอจะกล่าวต่อไปในอีกบทหนึ่งเลยเพราะเรื่องมันยาวมาก

“เอาละครับ เริ่มมันและลุ้นแล้วว่าใครจะได้เป็น 1 ในนั้น (ไม่อยากเป็นใช่ไหม) อะเดี๋ยวก่อน ผมจะแนะว่าเราไม่จำเป็นต้องเสี่ยงเลยครับ เพราะในคนอายุน้อยกว่า 35 ดูจากสาเหตุแล้ว จะพบเลยว่า อันหลักๆ นั้นเกือบ 50% เราเลี่ยงได้ครับ หลักๆคือ พบหมอ และตรวจร่างกายก่อน และระหว่างออกกำลัง โดยเฉพาะผู้มีความเสี่ยง เช่นมีประวัติพวกเจ็บอก ใจเต้นผิดปกติ หรือวูบขณะ หรือหลังออกกำลัง หรือขณะปกติ ญาติพี่น้องเป็น หรืออายุมากกว่า 35 ปี จบ…… ง่ายงั้นเหรอ
ห้า

เดี๋ยวๆๆ ยังจบไม่ได้ครับ ต้องอธิบายให้ฟังในรายละเอียดปูพื้นสักนิดก่อน ว่ากว่าพวกเรา เหล่านักออกกำลัง กว่าจะฟิต หัวใจจะเป็นอย่างไรบ้าง
เจ้าโรค HCM นี่แหละครับยาขมเลย เพราะมันมีส่วนที่เป็น grey zone คือ เส้นบางๆที่กั้นระหว่างความฟิตสุดยอด กับโรคร้ายอันนี้
และโชคไม่ดีที่ กว่าพวกเราจะเข้าขั้น elite cycling นั้น หัวใจจะต้องมีการพัฒนามาในแนวทางแบบนี้เสียด้วย …แบบไหน ก็แบบที่แพทย์เรียกว่า หัวใจนักกีฬา หรือ athlete heart ไง (คนละอันกับน้ำใจนักกีฬานะครับบบบ)”

“Athlete Heart คืออะไร ก่อนจะเข้าใจควรต้องมีการปูพื้นนิดครับ คือหัวใจคนเรานั้นมันมีการปรับตัวได้ อันนี้รู้กัน คนยิ่งออกกำลังยิ่งออกได้ทน ได้นาน ได้มาก อันนั้นคือการปรับตัวแบบปกติ เมื่อมีการฝึก …ทีนี้การออกกำลังของคน มันมีสองแบบครับ (ซึ่งอาจจะปนกันมากบ้างน้อยบ้างในบางกีฬา)”

“แบบแรกคือ endurance training (aerobic , isotonic , dynamic ชื่อเรียกมัน) ก็คือการออกกำลังแบบเพิ่มความทนทาน แต่ไม่โหลดน้ำหนักมากไป เช่น วิ่งระยะไกล ว่ายน้ำ พวกนี้ กับอีกพวกคือ เน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ strength training (static , isometric , anaerobic) เช่น ยกน้ำหนัก มวยปล้ำ ขว้างจักร และกีฬาที่ใช้ทั้งคู่ เช่น จักรยาน พายเรือ สกี เป็นต้น”

“การปรับตัวในระยะแรกของการออกกำลังแบบแอโรบิก คือ มีการเพิ่ม MVO2 (แหม หูผื่ง คือพวกเราอยากให้มันเยอะๆทุกคนจริงไหม) จำนวนเลือดต่อการปั๊มหัวใจ 1 ครั้ง(cardiac output=co) และมีการขยายตัวของเส้นเลือดส่วนปลาย ส่วนการปรับตัวในระยะแรกของการออกกำลังแบบ strength จะไม่ค่อยเพิ่ม MVO2 ครับ แต่จะมีการเพิ่ม co หัวใจเต้นเร็ว และมีการหดตัวของเส้นเลือดส่วนปลาย
การปรับตัวในระยะยาว นี่สิเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ..เราพบว่า ในคนที่ฝึก แอโรบิก จะมีการเพิ่ม MVO2 เพิ่ม co หัวใจห้องล่างซ้าย (ห้องนี้แหละสำคัญ)จะตอบสนองแบบ volume load คือขยายออก แต่กล้ามเนื้อไม่หนามาก …ในคนที่ฝึกแบบ strength จะกลับกันคือ MVO2 ไม่เพิ่มมาก แต่กล้ามเนื้อหัวใจหนา อาจโตขึ้นนิดหน่อย เป็นการตอบสนองแบบ pressure load”

“และขอแสดงความยินดีกับนักปั่น…ในชนิดการออกกำลังกายทั้งหมด จักรยาน การพายเรือแข่ง…ทำให้เพิ่มทั้ง volume load และ pressure โหลด มากกว่ากีฬาอื่นๆ ทำให้หัวใจของคนพวกนี้ ทั้งขยายตัวและทั้งหนา ในขณะเดียวกัน”

“ยิ่งออกมาก ยิ่งใหญ่ยิ่งหนา และเข้าใกล้โรค HCM มากขึ้นครับ โดยเฉพาะคนที่มีแต่ความหนาอย่างเดียว (เราวัดความหนาของห้องล่างซ้ายเกิน 13-15 mm) โดยปริมาตรของหัวใจห้องล่างซ้าย ไม่เกิน 55 mm พวกนี้แหละจะเป็น grey zone คือถ้าแพทย์ตรวจเจอเข้า …อาจแจ๊คพอตตรวจเพิ่มครับ เพราะการวินิจฉัย อาจต้องมีการวัด MVO2 ตรวจคลื่นหัวใจทั้งขณะพัก ออกกำลัง และการทำ เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็ก (MRI) เพื่อตรวจสอบให้แน่ (มันจะมีเกณฑ์แยกระหว่างปกติกะผิดปกติอยู่)”

“ทีนี้พอผมบอกว่า ยิ่งออกมากยิ่งหนาอย่างเดียวจะยิ่งเสี่ยง ..หลายคนจะยิ้มแหยๆ ใช่เลย เรากำลังทำมันอยู่แบบเนี้ย… แบบตะบี้ตะบันดันความเร็วแบบเกียร์หนักๆ ลากหัวใจสุดโซนเนี่ยแหละ ตัวดี … ใช่เลย เสี่ยงไหม …เสี่ยงสิ เพราะเวลากล้ามเนื้อหัวใจหนาไม่เหมาะสม มันจะเบียดทางออกของเลือด หรือเบียดเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ยิ่งหัวใจรัวๆ ยิ่งตัน หรือเปรี้ยง….เกิดการเต้นหัวใจผิดปกติ ฯลฯ (ไอ 26% ของการตายแหละครับ )
เฉพาะการไปทำ MRI ตรวจ ก็พอจะช่วยได้เยอะ ในโรคที่มีสามารถตรวจเจอ (มากกว่า 50%) เลย”

“ส่วนคนที่อายุ 35 ถึง 40 ปี …ถ้าไม่อยากเสี่ยง ตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังสักนิด ป้องกันได้เยอะเลยครับผม”

“ส่วนเหตุที่นักจักรยานเกิดวูบเกิดที่แยกอุรุพงษ์ (ไม่ใช่สนามเขียวนะครับ) ขนาดใกล้รามาหรือโรงพยาบาลกลางเมือง…ยังไม่รอด ผมว่า น่าจะอยู่ในสาเหตุพวกนี้แหละ ผมไม่มีข้อมูล แต่ถ้าเกิดอายุมาก มีความเสี่ยงเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน ก็คงไม่น่ามีปัญหาในการวินิจฉัยแหละครับ แต่ดูเลวร้ายไปหน่อย เพราะขนาดอยู่กลางเมืองยังไม่รอด… คงไม่ต้องหวัง ถ้าไปเกิดเหตุไกลๆ”